เรียนรู้การช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบาง

การช่วยเหลือในยุคสังคมสมัยนี้มีหลากหลายรูปแบบมากๆสิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำและง่ายที่สุดคือการบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกคนอื่นๆแต่เราว่ามันเป็นการช่วยเหลือในระยะสั้นและทำให้ผู้รับไม่ยั่งยืนมันอาจจะทำให้เกิดการวนลูปผู้รับก็อาจจะทำแบบนี้ซ้ำๆเมื่อเขาไม่มีเงินดังนั้นสังคมเราควรหันมาใส่ใจในเรื่องของการช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเปราะบาง กลุ่มคนไร้บ้านแบบระยะยาวหรือถ้าพูดให้สวยงามมันคือความยั่งยืนทางสังคมของเพื่อนร่วมโลกเรา

เราควรมารู้จักประเภทของ “กลุ่มคนเปราะบาง” ก่อนที่จะยื่นมือไปช่วยเหลือ ดังนี้

  • กลุ่มคนที่เปราะบางมากกว่าคนปกติไม่ได้พิการ เช่น ผู้สูงอายุ หรือ หญิงตั้งครรภ์
  • กลุ่มผู้พิการไม่สามารถดูแลตัวเองได้ เช่น ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยจิตเวช  
  • กลุ่มที่ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ เช่น  นักโทษ เด็กเล็ก
  • กลุ่มคนไร้บ้านหรือด้อยโอกาสทางสังคม เช่น คนขอทาน คนไร้บ้าน

การกุศลเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยเหลือผู้อื่นแต่ถูกใช้เมื่อเราต้องการที่จะแก้ปัญหาปลายเหตุ ปิดแผลที่เกิดจากทางโครงสร้างทางสังคมคุณควรจะเข้าใจการช่วยเหลืออย่างยั่งยืนที่แท้จริง

เปลี่ยนจากการให้แบบบริจาคเป็นการให้ความยุติธรรม

ปกติแล้วการให้แบบบริจาคมีหลายสาเหตุมากที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ไม่ว่าจะด้วยวาทกรรมทางสังคมที่มีสืบทอดต่อกันมาอย่างยาวนานหรือแม้แต่กระทั่งความสงสารที่เกิดจากภายในจิตใจแล้วจะทำยังไงให้เราสงสารแต่ไม่ทำร้ายเขา เราลองหันมาปรับเปลี่ยนมุมมองจากการบริจาคแค่ตัวเงินมาให้ความยุติธรรมกับกลุ่มคนเหล่านี้ดีกว่า

  1. คุณตระหนักและเห็นค่าของการพัฒนาด้านผู้นำในชุมชนของเขาขนาดไหน ? ถ้ามองกันแบบง่ายๆสิ่งที่เราควรทำคือการผลักดันเรื่องผู้นำในชุมชนของเขาให้แข็งแรงเพราะคุณไม่สามารถที่จะไปอยู่กับเขาได้บ่อยถ้าเทียบกับผู้นำชุมชน หากมีผู้นำชุมชนที่ดีก็ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับการปฏิบัติที่ดีด้วยเช่นกัน
  2. คุณต้องการช่วยเหลือแต่เข้าใจปัญหาเรื่องโครงสร้างหรือบริบทของชุมชนหรือสังคมที่เขาอยู่หรือไม่ ? การให้ความยุติธรรมของคนกลุ่มนี้ไม่ยากเลยเพียงแค่คุณเรียนรู้และเข้าใจเขาในแบบที่เขาเป็นเพราะเขาไม่สามารถที่จะเลือกเกิดได้แต่อย่าลืมว่าทุกคนเลือกคว้าโอกาสที่ดีได้ดังนั้นคุณควรหยิบยื่นโอกาสนั้นให้และการช่วยเหลืออันดับแรกคุณควรเลิกมองว่า คนกลุ่มนี้น่าสงสารหรือมองว่าเขาโชคไม่ดี เพราะมันเป็นความคิดอย่างหนึ่งเลยที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ก้าวไปไหนเพราะวาทกรรมส่วนใหญ่ในสังคมเหมือนเราไปลดถอนคุณค่าของเขาลงไป
  3. การเข้าใจบริบททางประวัติศาสตร์และสังคมของชุมชนนั้นๆ ถ้าหากว่าคุณมีเวลามากพอที่จะศึกษาเรื่องของกลุ่มคนนั้นๆที่คุณอยากจะช่วยเหลือในเรื่องของประวัติศาสตร์ความเป็นมา สังคมของเขาเป็นยังไง ลักษณะนิสัยของคนกลุ่มนี้ประมาณไหนมันจะช่วยให้คุณเจอกับปัญหารากฐานจริงๆที่จะช่วยเขาแก้ปัญหาไม่ใช่แก้ไขปัญหาปลายเหตุที่ไม่ได้ต่อยอดอะไรเลย การทำการกุศลจะต้องก้าวข้าม “การให้โดยไม่เห็น” ที่ผู้ให้อาจจะไม่เคยลงพื้นที่จริงไปสัมผัสชุมชนที่ตนให้ความช่วยเหลือเลยซึ่งเป็นสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง
  4. การวางตัวขององค์กรหรือทีมของคุณที่จะไม่อยู่เหนือชุมชนที่คุณจะช่วยเหลือ ทีมงานของคุณควรจะเข้าไปแบบที่ทำตัวเท่าเทียมกับกลุ่มคนเหล่านั้นไม่ทำให้เขาดูแปลกแยกออกจากสังคมไม่ใช่เข้าไปให้เงินแบบนายจ้างซึ่งมันไม่ช่วยให้สังคมเติบโตเลย
  5. ความรับผิดชอบและการให้การศึกษาอย่างยั่งยืน คนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นการช่วยที่ตอบโจทย์ในระดับหนึ่งเพราะมันสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับเขาได้จริงๆไม่ใช่เอากิจกรรมไปลงเอาเงินไปลงแต่สุดท้ายแล้วจบกิจกรรมก็ไม่มีอะไร

การช่วยเหลือให้เกิดผล

สุดท้ายแล้วนี่คือทั้งหมดของการช่วยเหลือที่ไม่ได้ช่วยแค่ปลายเหตุแต่ยังทำให้กลุ่มคนเปราะบางเติบโตพร้อมที่จะใช้ชีวิตในสังคมโดยที่ตัวเองไม่รู้สึกแปลกแยกเพราะเราทุกคนมีคุณค่าเท่ากัน สิ่งที่คุณควรถามตัวเอง คือ การที่คุณอยากจะช่วยเหลือหรือสนับสนุนองค์กรที่ฉายภาพซ้ำของกลุ่มคนเหล่านี้หรือเปล่า เพราะมันยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อไปไม่มีที่สิ้นสุดและคุณจะช่วยพวกเขาสร้างและใช้กลยุทธ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนรากปัญหาของความไม่ยุติธรรมได้ทางไหนบ้าง